วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บทความที่ 2 เข้าใจชีวิต



7 เรื่องต่อไปนี้ แม้คุณจะไม่ชอบ แต่ยังไงก็จะเกิดขึ้น บางเรื่องคุณอาจจะเจอแล้ว หรือไม่ก็ต้องเจอไม่วันใดก็วันหนึ่งนี่แหละ…จะดีกว่าไหม ถ้าคุณได้รู้และเตรียมตัวให้พร้อมก่อนจะเจอ แถมยังช่วยให้เข้าใจสิ่งที่ผ่านมาแล้วได้ดียิ่งขึ้น…





1.   เพื่อนจะเข้ามาและจากไปเสมอในชีวิตของคุณ…
สังเกตสิคนที่เคยคุย เคยเที่ยวเล่นกันในช่วงเวลาหนึ่ง พอย้ายที่เรียน
เปลี่ยนที่ทำงาน ต้องแยกกันไป ก็จะกลายเป็นเพื่อนเก่าที่ค่อยๆ ห่างไป ขณะเดียวกันเพื่อนใหม่ก็จะเข้ามาแทน มีน้อยที่จะยังติดต่อกันตลอด เช่นเดียวกับเพื่อนที่คุณสนิทในตอนนี้ ก็อาจจะหายไปในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เราจึงไม่ควรยึดติดกับใคร เพราะต่างก็ต้องมีทางเดินของตัวเอง คอยเปิดใจรับมิตรภาพใหม่ๆ ดีกว่า เพราะมีผู้คนที่น่าสนใจอีกมากให้คุณได้รู้จักในทุกๆ ที่

2.   สิ่งต่างๆ จะไม่เป็นอย่างที่คุณอยากให้เป็นเสมอ…
คุณมักไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ แต่ดันได้ในสิ่งที่ไม่ต้องการใช่ไหม? ไม่มี
ประโยชน์เลยที่จะเครียดหรือทุกข์ในเมื่อไม่สามารถเปลี่ยนสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วได้ แต่วิธีที่จะตอบสนองต่อสิ่งนั้นๆ คุณเปลี่ยนได้นะ

3.   หลายคนรักคุณ แต่ส่วนมากจะไม่…
ไม่ว่าคุณจะมีชื่อเสียง ชอบทำการกุศล หรือเป็นแค่คนธรรมดา ก็จะมีคนรัก
คุณแน่ๆ แต่ยังไงก็ต้องมีคนที่ไม่ชอบคุณด้วยเช่นกัน เหตุผลน่ะเยอะแยะ ไม่ว่าจะอิจฉา หรือเพียงเพราะคุณไม่เหมือนเขา ถ้าพวกเขาจะเอาแต่พูดเรื่องคุณ นั่นก็เป็นปัญหาของพวกเขานะ ไม่ต้องใส่ใจ จำไว้ว่าคุณดีในแบบของคุณและนับถือตัวเองได้ โดยไม่จำเป็นต้องให้ทุกคนชอบคุณ




4.   ไม่มีใครสามารถเปลี่ยนชีวิตของคุณได้นอกจากตัวคุณเอง…
คนอื่นช่วยเหลือคุณก็ได้แค่ระดับหนึ่ง ชีวิตใครก็ต้องคนนั้นแหละที่ทำให้
เกิดการเปลี่ยนแปลง จงเรียนรู้ที่จะยืนด้วยสองเท้าของตัวเองโดยไม่ต้องใช้คนอื่นๆ เป็นไม้เท้าค้ำยันในชีวิต เพราะพวกเขาไม่ได้อยู่กับคุณไปตลอด
5.   ความล้มเหลวเกิดขึ้นได้…
ไม่มีใครประสบความสำเร็จอย่างเดียวหรอก ยังไงก็ต้องล้มเหลวก่อน
นอกจากเรียนรู้จากบุคคลอื่นแล้ว ความล้มเหลวของคุณเองนี่แหละที่เป็นบทเรียนที่มีค่ามากที่สุดในชีวิตที่จะสอนคุณใช้มันเป็นแรงผลักดันให้คุณประสบความสำเร็จ ดีกว่าจมปลักไม่ไปไหน

6.   อาจไม่มีพรุ่งนี้…
เราไม่มีทางรู้ว่าเหตุการณ์ใดๆ จะเกิดขึ้น รถชน หัวใจวาย หรือแม้แต่โลกจะ
แตก มันเป็นไปได้หมด เผชิญหน้ากับมันซะ ยังไงวันหนึ่งก็ต้องเป็นวันสุดท้ายของเรา เพราะฉะนั้นในแต่ละวันทำให้ดีที่สุด ดูแลคนที่คุณแคร์ให้มาก ไม่ต้องกังวลกับเรื่องเล็กน้อย และใช้เวลาทำในสิ่งที่คุณชอบด้วย

7.   ใครๆ ก็มีมากกว่าคุณ…
พอมองไปก็จะเห็นแต่คนที่มีอะไรมากกว่าตัวเราทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นเงิน
ตำแหน่ง หรือเพื่อน แต่รู้ไว้อย่างเพียงเพราะเขามี “มากกว่า” ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะมีความสุขกว่านะ อ่านประวัติบุคคลที่มีชื่อเสียงดู พวกเขาน่ะสนุกกับกระบวนการในการได้เงินมากกว่าตัวเงินซะอีก จงโฟกัสไปในสิ่งที่คุณรักดีกว่า เพราะมันจะตามมาด้วยความสุขที่มากกว่า
              
              ......... ชีวิตก็อย่างนี้แหละ ถ้าเข้าใจและยอมรับมัน คุณก็จะสนุกกับการใช้ชีวิต.........

อ้างอิงจาก : www.kwamru.com/tag/การใช้ชีวิต

บทความที่ 1 วัดพระธาตุผาแก้ว





    วัดพระธาตุผาแก้ว เดิมชื่อว่า พุทธธรรมสถานผาซ่อนแก้ว   ตั้งอยู่ ณ บริเวณเนินเขาในหมู่บ้านทางแดง ต.แคมป์สน อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์  โดยคุณภาวิณี โชติกุลและคุณ อุไร โชติกุล ได้มีติตศรัททธาซื้อที่ดินถวาย เพื่อก่อสร้างเป็นสถานปฏิบัติธรรมแก่พระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนทั่วไปซึ่งนอกจากจะเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม แล้วยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดเพชรบูรณ์  เมื่อได้เดินชมรอบๆวัดจะให้บรรยากาศ ดุจสรวงสวรรค์เนื่องจากตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่โอบล้อมไปด้วย­ภูเขาสูงใหญ่ซ้อนกันเป็นทิวเขา เรียงราย สูงตระหง่าน
บนยอดเขานั้นมีถ้ำอยู่ปลายยอดเขาซึ่งมีชาวบ้านทางแดงหลายคนได้เห็นลูกแก้วลอนอยู่เหนือฟากฟ้าแล้วลับ หายเข้าไปในถ้าบนยอดผา ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุดเสด็จมาและต่างถือว่าเป็นสถานที่มงคลมีความ ศักดิ์สิทธิ์และเรียกตามๆกันว่า ผาซ่อนแก้ว และพุทธสถานที่มาตั้วในจุดโอบล้อมด้วยทิวเขาดังกล่าว จึงเรียกว่า พุทธธรรมสถานผาซ่อนแก้ว   ซึ่งเป็นนิมิตมงคลแก่ชาวบ้านทางแดงและผู้มาปฏิบัติธรรม
สถานที่สำคัญภายในวัด
 1.เจดียฺพระธาตุผาแก้ว
วัตถุประสงค์การสร้างเจดีย์ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครอง ราชย์ครบ 60 ปี และเป็นที่สืบพระศาสนา ให้ดำรงอยู่คู่แผ่นดินไทย เพื่อประโยชน์แก่มนุษยชาติ และคนรุ่นหลัง ได้มีโอกาสเรียนรู้ต่อไปบนยอดเจดีย์จะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งได้รับประทานม จากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก และ บริเวณใต้ฐานพระเจดีย์จะใช้เป็นที่เก็บรวบรวมหลักธรรมคำสอน, ภาพปริศนาธรรม และเป็นที่เจริญสติภาวนา สำหรับพุทธศาสนิกชนทั่วไป
เจดีย์วัดพระธาตุผาแก้วอันงดงาม
2.ศาลาปฎิบัติธรรม(ศาลาพระหยกเขียว)

เป็นศาลารูปทรงจัตุรัสโปร่ง รายรอบด้วยบานกระจกขนาดใหญ่ เพื่อให้สัมผัสกับธรรมชาติของขุนเขาอันเขียวชอุ่ม พร้อมทั้งมีสวนดอกไม้นานาพันธุ์โดยรอบ
3.พระพุทธเลิศรัตนโชติมณี
พระรัตนโชติมณี หรือ "พระหยกเขียว" เป็นพระพุทธรูปหยกปางมารวิชัย ซึ่งเป็นศิลปะสมัยเชียงแสน มีขนาด หน้าตัก 65 นิ้วทั้งองค์พระถูกแกะสลักจากหยกเขียวทั้งก้อน ที่พระเศียรได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งเป็น พระสารีริกธาตุที่รับเมตตาประทานจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณา
4.พระพุทธรัตนสัมฤทธิ์ผล
พระพุทธรัตนสัมฤทธิ์ผล หรือ "พระหยกขาว"เป็นพระพุทธรูปหยกปางขัดสมาธิเพชรสร้างตามรูปแบบศิลปะ คันธาระ มีขนาดหน้าตัก 39 นิ้ว พระเศียรขององค์พระ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่ได้รับเมตตาประทานจาก สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ได้ทำพิธีอัญเชิญประดิษฐาน ณ พุทธธรรมสถานผาแก้ว
5.ลานโพธิ์
เป็นสถานที่อันเป็นมงคลอีกแห่งหนึ่ง ในพุทธธรรมสถานผาซ่อนแก้ว ซึ่ง ณ จุดใจกลางบริเวณลานโดยรอบ จะมีต้นศรีมหาโพธิ์ปลูกไว้ โดยได้นำกล้าโพธิ์ขนาดความสูง3 นิ้วมาจาก พระครูธรรมศาสน์อุโมษ (พระครูในฎีกา ธงไชยวัฒน์ อิสฺสรธมฺโม) วัดท่ากระชัย อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ซึ่งท่านนำมาจากบริเวณรอบเจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดีย และได้มีเมตตามอบผ่านมาทางศิษย์ พระอาจารย์อำนาจ โอภาโสเพื่อให้นำมาปลูกเป็นเครื่องยึดเ หนี่ยวศรัทธา เพราะถือเป็นต้นไม้ที่ได้ให้ร่มเงาแด่พระพุทธองค์ และได้ทรงตรัสรู้ธรรมภาย ใต้ร่มโพธิ์พระอาจารย์ อำนาจ โอภาโส พร้อมด้วย พระอาจารย์ยงยุทธ สุรยุทฺโธ อีกทั้งญาติธรรม ได้นำกล้าโพธิ์ดังกล่าว ลงปลูกบริเวณ ลานโพธิ์ในวันวิสาขบูชา ปี พ.ศ.2547 พร้อมทั้งทำพิธีเวียนเทียนรอบต้นพระศรีมหาโพธิ์ ในวันสำคัญทาง ศาสนา ต่างๆ มาโดยตลอด นอกจากนี้ผู้ปฏิบัติธรรมเป็นใช้เป็นสถานที่เดินจงกรม ในการเจริญสติอีกด้วย
6.พระบรมสารีริกธาต
ได้รับเมตตาประทานมาจาก สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายกเพื่อนำมา ประดิษฐาน ณ พุทธธรรมสถานผาซ่อนแก้ว ให้พระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนถวายการสักการะบูชาต่อไป
7.ลานพระสีวลี
สถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูป พุทธมหาสาวก "พระสีวลี"




รายละเอียดเพิ่มเติม
ที่อยู่ วัดพระธาตุผาแก้ว
เลขที่ 95 หมู่ 7 บ้านทางแดง ต.แคมป์สน อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ 67280
รายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่ต้องการเข้ามาปฎิบัติธรรมที่  http://www.phasornkaew.org
          


อ้างอิงจาก : www.paiduaykan.com/76_province/north/.../pratadphakaew.html

วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บทที่ 8 การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม  

   แบบฝึกหัด

บทที่ 8 การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม             กลุ่มเรียนที่ 2
รายวิชา กาารจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน           รหัสวิชา 0026008
ชื่อ นางสาวนันทิชา  พระสว่าง                             รหัส 57011010086

คำชี้แจง  จงตอบคำถามต่อไปนี้

1) “นาย A ทำการเขียนโปรแกรมขึ้นมาโปรแกรมหนึ่งเพื่อทดลองโจมตีการทำงานของคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้ โดยทำการระบุ IP-Address โปรแกรมนี้สร้างขึ้นมาเพื่อทดลองในงานวิจัย นาย B ที่เป็นเพื่อนสนิทของนาย A ได้นำโปรแกรมนี้ไปทดลองใช้แกล้งนางสาว C เมื่อนางสาว C ทราบเขาก็เลยนำโปรแกรมนี้ ไปใช้และส่งต่อให้เพื่อนๆ ที่รู้จักได้ทดลอง” การกระทำอย่างนี้เป็น ผิดจริยธรรม หรือผิดกฎหมายใดๆ หรือไม่  หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหน จงอธิบาย

  ตอบ เป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม คือ นาย B และนางสาว C ไม่ได้ทำการขออนุญาติ นาย A อย่างถูกกิจลักษณะ อาจทำให้นาย A เสียหายได้ และผิดกฎหมาย คือ  กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law) สาระของกฎหมายนี้มุ่งเน้นให้การคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัว ไม่ให้มีการนำข้อมูลของบุคคลไปใช้ในทางมิชอบ

 2) “นาย J ได้ทำการสร้างโฮมเพจ เพื่อบอกว่าโลกแบนโดยมีหลักฐาน อ้างอิงจากตำราต่างๆ อีกทั้งรูปประกอบ เป็นการทำเพื่อความสนุกสนาน ไม่ได้ใช้ในการอ้างอิงทางวิชาการใดๆ เด็กชาย K เป็นนักเรียนในระดับประถมปลายททำรายงานส่งครูเป็นการบ้านภาคฤดูร้อนโดยใช้ข้อมูลจากโฮมเพจของนาย J” การกระทำอยางนี้เป็น ผิดจริยธรรม หรือผิดกฎหมายใดๆ หรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหน จงอธิบาย

  ตอบ การกระทำนี้ไม่ได้ตั้งใจทำให้เกิดความเสื่อมเสียถึงผู้ใด แต่การกระทำเช่นนี้อาจทำให้เกิดความรำคาญแก่ผู้อื่น จึงเป็นการทำผิดจริยธรรมโดยตรง ทั้งการปลอมหลักฐาน และการหลอกลวง โดยไม่มีการทำการพิสูจน์ และยืนยันจากผู้ที่มีความรู้ความสามารถและขาดความน่าเชื่อถือ อาจทำให้ตนเองหมดความน่าเชื่อถือไปด้วย

บทที่ 7 ความปลอดภัยของสารสนเทศ                                                    

 แบบฝึกหัด

บทที่ 7 ความปลอดภัยของสารสนเทศ                   กลุ่มเรียนที่ 2
รายวิชา กาารจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน      รหัสวิชา 0026008
ชื่อ นางสาวนันทิชา  พระสว่าง                         รหัส 57011010086

1. หน้าที่ของไฟร์วอลล์ (Fire-well) คือ เป็นระบบรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์แบบหนึ่งที่
นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีทั้งอุปกรณ์ Hardware และ Software โดยหน้าที่หลัก ๆ ของ Firewall นั้น
จะทำหน้าที่ควบคุมการใช้งาน
ระหว่าง Network ต่าง ๆ

2.จงอธิบายคำศัทพ์ต่อไปนี้ ที่เกี่ยวข้องกับไวรัสคอมพิวเตอร์ worm,virus computer,spy ware,adware
มาอย่างน้อย 1 โปรแกรม
ตอบ Worm เป็นไวรัสประเภทหนึ่งที่ก่อกวน สามารถทำสำเนาตัวเอง (copy) และแพร่กระจายไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์
เครื่องอื่นๆ ได้ ทำให้คอมพิวเตอร์ส่วนตัว และในระบบเครือข่ายเสียหายไวรัส วอร์ม นี้ปัจจุบันมีหลากหลายมาก มีการแพร่
กระจายของไวรัสได้รวดเร็วมาก ทั้งนี้เนื่องจากไวรัส วอร์ม จะสามารถแพร่กระจายผ่านทางอีเมล์ได้ ไม่ว่าจะเป็น
Outlook Express หรือ Microsoft Outlook

3.ไวรัสคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง
ตอบ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ Application viruses และ System viruses

4..ให้นิสิตอธิบายแนวทางในการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์มาอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ  1.สร้างแผ่นบูต emergency disk เพื่อใช้ช่วยในการกู้ระบบ การสร้างแผ่น emergency disk
หรือบางครั้งอาจเรียกว่า Rescure disk นั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเครื่องติดไวรัสที่ไม่สามารถ
จะกำจัดได้โดยผ่านระบบปฏิบัติการวินโดวส์ หรือผลกระทบของไวรัสที่ทำให้เครื่องไม่สามารถบูต
ได้ตามปกติเราก็สามารถใช้แผ่น emergency diskมาช่วยในการกู้ข้อมูลและกำจัดไวรัสออกจนทำ
ให้บูตเครื่องได้ตามปกติ
         2.ปรับปรุงฐานข้อมูลไวรัสทุกวันหรืออย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง ขั้นตอนนี้เปรียบเสมือนหัวใจ
ของการใช้งานโปรแกรมป้องกันไวรัส เนื่องจากไวรัสคอมพิวเตอร์ถูกพัฒนาออกมาใหม่ทุกวัน
ดังนั้นจึงควรที่จะสอนโปรแกรมป้องกันไวรัสให้รู้จักไวรัสชนิดใหม่ๆด้วย โดยการปรับปรุงฐานข้อมูล
ไวรัสที่ใช้งานนั่นเอง
         3.เปิดใช้งาน auto - protect โดยส่วนใหญ่โปรแกรมป้องกันไวรัสที่ติดตั้งจะทำการสร้าง
โพรเซสที่จะตรวจหาไวรัสตลอดเวลา เพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสสามารถถูกเอ็กซิคิวต์ในเครื่องได้
         4.ก่อนเปิดไฟล์จากแผ่นที่นำมาใช้จากที่อื่นให้สแกนหาไวรัสก่อน แผ่นดิสก์ที่นำไปใช้ที่อื่นแล้ว
นำกลับมาเปิดที่เครื่อง จะมั่นใจได้อย่างไรว่าแผ่นนั้นไม่มีไวรัสอยู่ ดังนั้นควรจะตรวจหาไวรัสใน
แผ่นก่อนที่จะเปิดอ่านข้อมูลที่ถูกบรรจุในแผ่นดิสก์ดังกล่าว
         5.ทำการตรวจหาไวรัสทุกสัปดาห์ ในแต่ละสัปดาห์แน่นอนว่ามีไฟล์ที่ผ่านเข้าออกเครื่องมาก
มายไม่ว่าจะเป็น อี-เมล์ที่ได้รับ ไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาจากอินเทอร์เน็ต ตลอดจนไฟล์ชั่วคราวของ
โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ที่เก็บในแต่ละครั้งที่เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ แล้วจะแน่ใจได้อย่างไรว่าไฟล์เหล่า
นั้นไม่มีไวรัสแฝงตัวมา ดังนั้นจึงควรที่จะทำการตรวจหาไวรัส โดยการสแกนหาทั้งระบบ อาจจะเป็น
ทุกเย็นของวันศุกร์ก่อนกลับบ้านก็เป็นได้

5.มาตรการด้านจริยธรรมคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการใช้อินเทอเน็ตที่เหมาะสมกับสังคม
ปัจจุบันได้แก่
 ตอบ 1. กฏหมายคุ้มครองข้องมูลส่วนบุคคล
     2. กฏหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
     3. กฏหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
     4. กฏหมายการแลกเปลี่ยนข้อมูงทางอิเล็กทอนิกส์
     5. กฏหมายลายมือชื่ออิเล็กทอนิกส์
     6. กฏหมายการโอนเงินทางอิเล็กทอนิกส์
     7. กฏหมายโทลคมนาคม
     8. กฏหมายระหว่างประเทศ
     9. กฏหมายืั้เกี่ยวเนื่องกับระบบอินเตอร์เน็ต
    10. กฏหมายพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอิเล็กทอนิกส์และคอมพิวเตอร์

บทที่ 6  การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน


 แบบฝึกหัด

บทที่ 6  การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน              กลุ่มเรียนที่ 2
รายวิชา กาารจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน        รหัสวิชา 0026008
ชื่อ นางสาวนันทิชา  พระสว่าง                           รหัส 57011010086

คำชี้แจง  จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว

1. การประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นความหมายของข้อใด?
    1. เทคโนโลยีสารสนเทศ
    2. เทคโนโลยี
    3. สารสนเทศ
    4. พัฒนาการ
2. เทคโนโลยีสารสนเทศใดก่อให้เกิดผลด้านการเสริมสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม?
    1. ควบคุมเครื่องปรับอากาศ
    2. ระบบการเรียนการสอนทางไกล
    3. การสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
    4. การพยากรณ์อากาศ
3.การฝากถอนเงินผ่านตู้ ATM เป็นลักษณะเด่นของเทคโนโลยีสารสนเทศข้อใด?
    1. ระบบอัตโนมัติ
    2. เปลี่ยนรูปเเบบการบริการเป็นเเบบกระจาย
    3. เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่างๆ
    4. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
4. ข้อใดคือการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ?
    1. ระบบการโอนถ่ายเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
    2. บัตรเอทีเอ็ม บัตรเครดิต
    3. การติดต่อข้อมูลทางเครือข่าย
    4. ถูกทุกข้อ
5. เทคโนโลยีสารสนเทศหายถึงข้อใด?
    1. การประยุกต์เอาความรู้มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์
    2. ข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี
    3. การนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาสร้างข้อมูลเพิ่มให้กับสารสนเทศ
    4. การนำเอาคอมพวิเตอร์มาใช้ในการจัดเก็บข้อมูล
6.เครื่องมือที่สำคัญในการจัดการสารสนเทศในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร?
    1. เทคโนโลยีการสื่อสาร
    2. สารสนเทศ
    3. คอมพิวเตอร์
    4. ถูกทุกข้อ
7. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ?
    1. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
    2. เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถเปลี่อนสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน หรือสอบถามผลสอบได้
    3. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้บุคคลทุกระดับติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว
    4. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้มีการสร้างหอพักอาศัยที่มีคุณภาพ
8. ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์ที่ช่วยงานด้านสารสนเทศ?
    1. เครื่องถ่ายเอกสาร
    2. เครื่องโทรสาร
    3. เครื่องมินิคอมพิวเตอร์
    4. โทรทัศน์ วิทยุ
9. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ?
    1. เป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจ
    2. พัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านฮาร์ดเเวร์ ซอฟต์เเวร์ ข้อมูล และการสื่อสาร
    3. ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
    4. จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น
10.  ข้อใดคือประโยชน์ที่ได้จากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการเรียน?
    1. ตรวจสอบผลการลงทะเบียน ผลการสอบได้
    2. สามารถสืบค้นข้อมูลได้จากเเหล่งข้อมูลที่มีอยู่ทั่วโลกได้
    3. ติดต่อสื่อสารกับเพื่อน ครู อาจารย์ หรือส่งงานได้ทุกที่
    4. ถูกทุกข้อ

บทที่5 การจัดการสารสนเทศ

 แบบฝึกหัด


บทที่ 5  การจัดการสาระสนเทศ                                                     กลุ่มเรียนที่2
รายวิชา กาารจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน               รหัสวิชา 0026008
ชื่อ นางสาวนันทิชา  พระสว่าง                                                      รหัส 57011010086


1.จงอธิบายความหมายของการจัดการสารสนเทศ
 ตอบ  หมายถึง การผลิต จัดเก็บ ประมวลผล ค้นหา และเผยแพร่ สารสนเทศโดยจัดให้มีรบบสารสนเทศ การกระจายของสารสนเทศ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ

2.การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อบุคคลและต่อองค์กรอย่างไร
 ตอบ    มีความสำคัญต่อบุคคลและองค์กรในด้านการดำรงชีวิตประจำวัน ด้านการศึกษา และ การทำงานประกอบอาชีพต่างๆ

3.พัฒนาการของการจัดการสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ยุค อะไรบ้าง
 ตอบ       แบ่งเป็น 4 ยุค
ยุคที่ 1     การประมวนข้องมูล
ยุคที่ 2     ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร
ยุคที่ 3    การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ 
ยุคที่ 4    ยุคปัจจุบันหรือยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ

4.จงยกตัวอย่างการจัดการสารสนเทศที่นิสิตใช้ในชีวิตประจำวัน มาอย่างน้อย 3 ตัวอย่าง
  ตอบ   1.ระบบประมวลผลรายการ
             2.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
             3.ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา

วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บทความที่ 2 ขนมหม้อแกง



            ขนมหม้อแกง เป็นขนมไทยโบราณที่เก่าแก่มากแต่เดิมนั้นเรียกว่า “ ขนมกุมภมาศ ” หรือ “ ขนมหม้อทอง ” มีส่วนผสมหลักคือถั่วเขียวบดละเอียด น้ำตาลโตนด กะทิ แป้งข้าวเจ้า และไข่ขาว ในปัจจุบันแหล่งทำขนมหม้อแกงที่มีชื่อว่าอร่อยและถือว่าเป็นขนมชั้นดีประจำเมืองคือขนมหม้อแกงของเมืองเพชรบุรีมีให้เลือกตามความชอบมากมายหลายอย่าง อาทิเช่น หม้อแกงไข่ซึ่งมีไข่ล้วน ๆ หม้อแกงถั่วมีรสชาติหวานมันเป็นพิเศษ หม้อแกงเผือกซึ่งมีรสมันของเผือก หรือหม้อแกงเม็ดบัว ซึ่งมีเม็ดบัวแช่อิ่มหวานกรอบโรยอยู่ตรงหน้าขนมและส่วนผสมต้องสดใหม่จริง ๆ




เครื่องปรุง+ส่วนผสม

 1. ถั่วเขียว 250 กรัม (เผือก, เม็ดบัว, อื่นๆ)
                                                  2. น้ำเปล่า 4 ถ้วยตวง

                                                  3.หัวกะทิ 1 ถ้วยตวง
                                                  4. น้ำตาลปี๊บ 250 กรัม
                                                  5.ไข่เป็ด 3 ฟอง
                                                  6. หอมแดงซอยละเอียด 3 ลูก
                                                  7. ใบเตย 3 ใบ
                                                  8. เกลือป่น 1/4 ช้อนชา

วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน

1. นำหอมแดงไปเจียวในน้ำมันจนเหลืองและกรอบ (ระวังไหม้ ควรเจียวด้วยไฟอ่อนๆ )
2. นำถั่วเขียวเลาะเปลือกไปแช่ในน้ำและนำไปนึ่งจนสุก หรือถ้าใช้เผือกก็ปอกเปลือกและนำไปนึ่งจนสุก จากนั้นจึงนำเผือกไปยีให้เป็นชิ้นเล็กๆ
3. ในชามขนาดกลาง, ผสมไข่ น้ำตาลปี๊บและเกลือ แล้วขยำโดยใช้ใบเตยให้เข้ากันดี น้ำตาลละลายหมด จากนั้นจึงใส่หัวกะทิลงไป ขยำต่ออีกจนส่วนผสมเข้ากันดี แล้วจึงนำไปกรองด้วยผ้าขาวบางเพื่อเอาสิ่งสกปรกออก
4. เอาถั่วหรือเผือกใส่ลงไปในส่วนผสมที่กรองแล้ว และใส่น้ำมันที่เหลือจากการเจียวหอมแดง (ประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ) คนจนส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันดี
5. นำส่วนผสมที่ได้ไปกวนด้วยไฟร้อนปานกลางในกระทะทองเหลือง (หรือกระทะเทฟลอนก็ได้) กวนจนส่วนผสมเริ่มข้นก็พอ ถ้ากวนมากเมื่อนำไปอบจะ ไม่น่าทานเพราะจะแตกมัน ที่เรานำมากวนก็เพื่อป้องกันไม่ให้ส่วนผสมแยกชั้นเมื่อนำไปอบเนื่องจากไข่กับกะทิ ไม่เข้ากันดี
6. นำส่วนผสมที่กวนแล้วไปอบ โดยใส่ถาดหรือแบบที่ต้องการ ใช้ความร้อน 180 องศาเซลเซียส (360 องศาฟาเรนไฮต์) อบประมาณ 30 - 40 นาที จากนั้นจึงนำหอมเจียวไปโรยหน้าและอบต่ออีกประมาณ 5 นาที
7. ถ้าอบโดยใส่ถาดไว้ เวลาเสริฟก็ตัดแบ่งเป็นชิ้นขนาดตามความเหมาะสม ถ้าอบโดยใส่แบบอื่นๆไว้ ถ้าขนาดแบบไม่ใหญ่มาก อาจเสริฟได้พร้อมแบบทันที  


  

                                       




อ้างอิง

www.ezythaicooking.com/free.../Thai_baked_mung_bean_cake_th.html



วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

บทความที่ 1 ผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ


ผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ  

   

             
           ความรู้เกี่ยวกับศิลปะการนำผ้ามาย้อมด้วยสีที่ได้จากธรรมชาติ เป็นความรู้ภูมิปัญญาที่ถูกค้นพบ ปฏิบัติและถ่ายทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น  การทำผ้ามัดย้อมใช้เอง เป็นความภาคภูมิใจของคนทำและคนที่จะสวมใส่ เพราะผลงานชิ้นดังกล่าวเป็นศิลปะหนึ่งเดียวในโลกที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน การคิด ประดิษฐ์ลายผ้า ขึ้นอยู่กับจินตนาการและการสังเกตของแต่ละคน ซึ่งการมัดแต่ละครั้งหรือแต่ละคน  ลายผ้าที่ได้จะไม่เหมือนกัน แต่ก็สามารถปรับปรุง หรือออกแบบให้ใกล้เคียง หรือ คล้ายกันได้  ขึ้นอยู่กับการสังเกตและพัฒนาการของแต่ละคนด้วย ซึ่งการมัดลายแบบพื้นฐานอย่างง่ายมี ดังนี้
การพับแล้วมัด   การห่อแล้วมัด   การขยำแล้วมัด   พับแล้วหนีบ ที่สำคัญสีที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ผ้าย้อมคราม ย้อมฝางแดง เป็นต้น
        สีธรรมชาติได้จากต้นไม้ ได้แก่ ราก แก่น เปลือก ต้น ผล ดอก เมล็ด ใบ เป็นต้น ซึ่งต้นไม้แต่ละชนิดให้โทนสีต่างกัน ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของต้นไม้นั้นๆ  ซึ่งจะขอยกมาเป็นตัวอย่าง เป็นบางส่วน ดังนี้
- สีแดง    ได้จาก รากยอ แก่นฝาง  เปลือกสมอ ครั่ง
- สีคราม  ได้จาก ต้นคราม
- สีเหลือง ได้จาก  แก่นขนุน ต้นหม่อน ขมิ้น    ดอกดาวเรือง         
- สีตองอ่อน ได้จาก เปลือกผลทับทิม ต้นคราม ใบหูกวาง เปลือกและผลสมอพิเภก ใบส้มป่อยและผงขมิ้น ใบแค  ใบสับปะรดอ่อน
- สีดำ    ได้จาก ผลมะเกลือ ผลกระจาก ผลและเปลือกสมอ
- สีส้ม   ได้จาก เปลือกและรากยอ ดอกกรรณิการ์ (ส่วนที่เป็นหลอดสีส้ม) 
- สีเหลืองอมส้ม    ได้จาก ดอกคำฝอย
- สีม่วงอ่อน     ได้จาก ลูกหว้า
- สีชมพู    ได้จาก ต้นฝาง
- สีน้ำตาล   ได้จาก เปลือกไม้โกงกาง เปลือกผลมังคุด
- สีเขียว    ได้จาก เปลือกต้นมะริดไม้ ใบหูกวาง เปลือกสมอ
เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ดังนี้                                                                                                                           1. เตรียมวัตถุดิบให้สี เช่น ใบไม้ ดอกไม้  เปลือกไม้  กิ่ง ก้านใบ แก่นใบ ผลไม้ รากไม้ ที่ให้สีในโทนที่ต้องการมาจำนวนพอประมาณ ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับน้ำ หม้อที่ใช้ต้ม และจำนวนผ้าที่ต้องการย้อมด้วย นำวัตถุดิบดังกล่าวมาหั่นเล็กๆ ขนาดพอเหมาะกับภาชนะต้ม
2. เตาขนาดใหญ่ หรือก้อนเส้าเพื่อตั้งหม้อต้มน้ำ                                                                                                                            3. ผ้าตามขนาดที่ต้องการขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้
4. หนังยาง   เชือก ฟาง  หรือ เข็มกับด้วย เพื่อเอาไว้มัดลวดลาย
5. ปีบ  กะละมังหรือหม้อขนาดใหญ่เพื่อเอาไว้ต้มสีย้อมผ้าจาก ธรรมชาติ
6. ถุงผ้า หรือ ตาข่าย สำหรับห่อวัตถุดิบที่ให้สีเพื่อป้องกันไม่ให้เศษไม้ไปติดกับผ้าที่เราจะย้อม             7. ไม้ไผ่ผ่าซีกแบนเรียบ ก้อนหิน หรือวัตถุขนาดต่างๆ เพื่อเอาไว้ทำเป็นแม่แบบกดทับผ้าเพื่อให้เกิดลายตามจินตนาการ
8. เกลือ เอาใส่ในหม้อต้มน้ำเพื่อให้สีติดทนนานขึ้น
ขั้นตอนการทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ  มีดังนี้
1. ต้มน้ำให้เดือดในภาชนะที่ใหญ่พอประมาณ (ขึ้นอยู่กับจำนวนผ้า ที่จะย้อมด้วย) ใส่เกลือลงไปพร้อมกับน้ำเพื่อให้สีติดทนนานและสีสดขึ้น
2. นำวัตถุดิบให้สีที่เตรียมไว้แล้วใส่ในถุงผ้าหรือตาข่ายที่เตรียมไว้ แล้วนำเอาไปต้มกับน้ำที่เดือดเพื่อสกัดเอาสารที่มีอยู่ในนั้นออกมา                                                                                                              3. นำผ้าที่ผูกลายเสร็จลงไปในหม้อต้มสี ให้กลับด้านผ้าหรือกวน ให้ตลอดเพื่อให้สีผ้าดูดสีสม่ำเสมอกันทั้งผืน ให้สังเกตสีที่ซึมเข้าไปในเนื้อผ้าตามความพอใจหรือเหมาะสมแล้วจึงนำออกมาวางให้เย็นก่อน (ประมาณ 30 นาที ขึ้นอยู่กับอุณหถูมิของน้ำ)
4. ล้างขยี้เบาๆ ในน้ำตัวทำปฏิกิริยาเพื่อทำให้เกิดสีใหม่   เช่น   น้ำสนิม  น้ำสารส้ม   น้ำปูนใส   น้ำด่างขี้เถ้า  (ในขณะที่แช่ผ้าในตัวทำปฏิกิริยาแต่ละชนิดให้สังเกตถึงความต่างและการเปลี่ยนแปลงสีของแต่ละชนิดไว้ด้วยเพราะแต่ละตัวจะให้สีแตกต่างกัน) ถ้าพอใจแล้วให้แกะลายออกแล้วนำไปตากแดดให้แห้ง หรือถ้ายังไม่พอใจในสีที่ปรากฏให้นำไปล้างน้ำ สะอาดแล้วนำกลับไปย้อมกับตัวทำปฏิกิริยาชนิดอื่นๆ อีก   แต่ข้อควรระวัง คือในระหว่างที่นำผ้าเปลี่ยนตัวทำปฏิกิริยาให้ล้างน้ำเปล่าก่อน เพื่อไม่ให้ผสมกัน หรือถ้าไม่พอใจอีกอาจนำไปต้มกับน้ำเปลือกไม้อีกครั้ง  เพื่อย้อมใหม่ จนเป็นที่พอใจแล้วแก้ผ้าที่มัดไว้นำไปตากแดดให้แห้ง 
ข้อดีของสีธรรมชาติ
1. ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ผลิตและผู้บริโภค
2. น้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตไม่เป็นอันตรายต่อ สิ่งแวดล้อม
3. วัตถุดิบหาได้ง่ายในชุมชนไม่ต้องใช้สีเคมีที่นำเข้าจากต่างประเทศ
4. การย้อมสีธรรมชาติสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เป็นความรู้ที่เพิ่มพูนขึ้นตามประสบการณ์ สามารถ ถ่ายทอดให้แก่คนรุ่นหลัง เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่น
5. การย้อมสีธรรมชาติทำให้เห็นคุณค่าและรู้จักใช้ ประโยชน์ของทรัพยากรธรรมชาติ




อ้างอิงจาก
ข้อมูลจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://www.ist.cmu.ac.th/cotton/naturalColor_AdvRestrict.php?subnav=3
www.ist.cmu.ac.th  
การทำผ้ามัดย้อมด้วยสีธรรมชาติ จากบล็อก โอเคเนชั่น oknation.net


วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557

บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ  


แบบฝึกหัด

บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ                                                      กลุ่มเรียน 2
รายวิชา  การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                รหัสวิชา  0026008
ชื่อ-สกุล นางสาวนันทิชา  พระสว่าง                                              รหัส 57011010086 (TM)

คำชี้แจง  จงตอบคำถามต่อไปนี้

1.      ให้นิสิตยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามหัวข้อต่อไปนี้ อย่างน้อยหัวข้อละ 3 ชนิด แล้วแลกเปลี่ยนกันตรวจสอบกับเพื่อน
1)      การบันทึกและจัดเก็บข้อมูล   
ตอบ     USB flash drive, DVD ,  Memory stick       
2)      การแสดงผล
ตอบ    จอมอนิเตอร์ , เครื่องฉายโปรเจ็คเตอร์ , เครื่องพิมพ์
3)      การประมวลผล     
ตอบ    CPU , RAM , Software       
4)      การสื่อสารและเครือข่าย
ตอบ    อินเตอร์เน็ต , โทรทัศน์ , วิทยุ

2.       ให้นิสิตนำตัวเลขในช่องขวา มาเติมหน้าข้อความในช่องซ้ายที่มีความที่สัมพันธ์กัน
       1)  ส่วนใหญ่ใช้ทำหน้าที่คำนวณ ประมวลผล
       2)  e-Revenue
       3)  เทคโนโลยีต่างๆ ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการเกี่ยวกับสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้องแม่นยำ และความรวดเร็วต่อการนำไปใช้
       4)  มีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วนได้เเก่ Sender Medium และDecoder
       5)  การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรับ-ส่งเอกสารจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งโดยส่งผ่านเครือข่าย
       6)  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมและเทคโนโลยีอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
       7)  โปรแกรมที่ทำหน้าที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์
       8)  โปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ จัดเป็นซอฟต์เเวร์ประเภท
       9)  CAI
     10)  ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ   8   ซอฟต์แวร์ประยุกต์
           3   Information Technology
           1   คอมพิวเตอร์ในยุคประมวลผลข้อมูล
           6   เทคโนโลีสารสนเทศ ประกอบด้วย
          10  ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
           7   ซอฟต์แวร์ระบบ
           9   การนำเสนอบทเรียนในรูปมัลติมีเดียที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ตามระดับความ                          สามารถ
           5   EDI
           4   การสื่อสารโทรคมนาคม
           2   บริการชำระภาษีออนไลน์

บทที่ 3 การรู้สารสนเทศ


แบบฝึกหัด

บทที่ 3 การรู้สารสนเทศ                                                         กลุ่มเรียนที่ 2                                               รายวิชา  การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน         รหัสวิชา  0026008
ชื่อ นางสาวนันทิชา  พระสว่าง                                               รหัสนิสิต 57011010086 (TM)

คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

1. ข้อใดเป็นความหมายที่ถูกต้องที่สุดของการรู้สารสนเทศ
ก. ความสามารถในการกลั่นกลอง และประเมินค่าสารสนเทศที่หามาได้
ข. ความสามารถในการตัดสินใจใช้สารสนเทศรูปแบบต่างๆ
ค. ความสามารถของบุคคลในการสืบค้นและพัฒนาสารสนเทศ
ง. ความสามารถของบุคคลในการเข้าถึง ประเมิน และใช้งานสารสนเทศ

2. จากกระบวนการของการรู้สารสนเทศ ทั้ง 5 ประการ ประการไหนสำคัญที่สุด
ก. ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดจึงจะต้องการสารสนเทศ
ข. ความสามารถในการค้นหาสารสนเทศ
ค. ความสามารถในการประมวลผลสารสนเทศ
ง. ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

3. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของผู้รู้สารสนเทศ
ก. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
ข. สามารถใช้สารสนเทศในการดำเนินชีวิต
ค. ชอบใช้คอมพิวเตอร์ในการเล่นเกม
ง. ใช้คอมพิวเตอร์ในการแสวงหาสารสนเทศได้

4.ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ
ก.  โลกมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก โดยเน้นวัตถุนิยมมากขึ้น
ข.  ช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต
ค.  สารสนเทศมีการเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว จนยากที่จะเข้าถึง
ง.   ช่วยบุคคลเป็นผู้ที่มีศักยภาพในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

5. ข้อใดเป็นการเรียงลำดับขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้สารสนเทศที่ถูกต้อง
1. ความสามารถในการประมวลสารสนเทศ
2. ความสามารถในการประเมินสารสนเทศ
3. ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
4. ความสามารถในการค้นหาสารสนเทศ

5. ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดจึงจะต้องการสารสนเทศ
 ก. 1-2-3-4-5                 ข. 2-4-5-3-1              ค. 5-4-1-2-3              ง. 4-3-5-1-2

บทที่1 แนวคิดและแนวโน้มเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศยุคใหม่

แบบฝึกหัด


บทที่ 1 (กิจกรรม1)                                                                    กลุ่มที่เรียน 2
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน              รหัสวิชา 0026 008
ชื่อ  นางสาวนันทิชา พระสว่าง                                                  รหัส 57011010086 (TM)


จงเติมในช่องว่างว่าข้อใดเป็นข้อมูล หรือสารสนเทศ

1.ข้อมูลหมายถึง...
ตอบ ข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจ ข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลข ข้อความ หรือรายละเอียดซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง วีดิโอไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ  ข้อมูลเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง  และต้องถูกต้องแม่นยำ ครบถ้วน ขึ้นอยู่กับผู้ดำเนินการที่ให้ความสำคัญของความรวดเร็วของการเก็บข้อมูล ดังนั้นการเก็บข้อมูลจึงเป็นการเก็บรวบรวมเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจนั่นเอง ข้อมูลจึงหมายถึงตัวแทนของข้อเท็จจริง หรือความเป็นไปของสิ่งของที่เราสนใจ

2.ข้อมูลปฐมภูมิคือ... 
ตอบ  สารสนเทศที่ได้มาจากต้นแหล่งโดยตรง เป็นสารสนเทศทางวิชาการ ผลของการศึกษาค้นคว้า วิจัย รายงาน การค้นพบทฤษฎีใหม่ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ซึ่งนำไปสู่การยอมรับเป็นทฤษฎีใหม่ที่เชื่อถือได้ สารสนเทศประเภทนี้มักจะถูกถ่ายทอดออกมาในลักษณะสิ่งพิมพ์ และการถ่ายทอดสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ 

ยกตัวอย่างประกอบ การถ่ายทอดทางสิ่งพิมพ์วารสาร รายงานการวิจัย รายงานการประชุมและสัมมนา วิชาการ และการถ่ายทอดสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วารสารอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

3.ข้อมูลทุติยภูมิคือ...
ตอบ  เป็นแหล่งของข้อมูลที่ได้จากรายงาน หรือถ่ายทอดมาจากข้อมูลชั้นต้น หรือนำข้อมูลปฐมภูมิมาสังเคราะห์และเรียบเรียงขึ้นใหม่ เพื่อเสนอข้อคิดหรือแนวโน้มบางประการ ด้วยเหตุนี้ข้อมูลหรือหลักฐานนั้นจึงถูกรายงานโดยผู้ที่ไม่ได้มีส่วนร่วมหรือเป็นพยานในเหตุการณ์นั้น ผู้เขียนจะรายงานหรือถ่ายทอดในสิ่งที่ผู้อยู่ในเหตุการณ์พูด หรือเขียน หรือถ่ายทอดในลักษณะต่าง ๆ ไว้ หรืออาจจะถ่ายทอดมาหลายทอดก็ได้  การนำมาใช้ในการวิจัยจึงต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ นอกจากนั้น ข้อมูลที่ได้อาจไม่ทันสมัย ดังนั้นในการค้นหาข้อมูลทุติยภูมิจึงต้องเลือกค้นหาข้อมูลที่เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ส่วนข้อดีของข้อมูลทุติยภูมิคือ ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการค้นหาข้อมูล

ยกตัวอย่างประกอบ  หนังสือทั่วไป หนังสือตำรา หนังสือคู่มือการทำงาน รายงานความก้าวหน้าทางวิทยาการ บทคัดย่องานวิจัย บทวิจารณ์หนังสือ วารสารสาระสังเขป เป็นต้น

4.สารสนเทศหมาถึง...
ตอบ  ข้อมูลที่มีสาระอยู่ในตัว สามารถสื่อความหมายให้เกิดการเข้าใจกับผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลนั้น และสามารถที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้การที่จะได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการนั้นจะต้องนำข้อมูล (data) ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจมาทำการประมวลผลเสียก่อน โดยข้อมูลที่นำมาประมวลผลนั้นอาจจะมาจากแหล่งข้อมูลทั้งภายในหรือภายนอกองค์การ

5.จงอธิบายประเภทของสารสนเทศ...
ตอบ  สารสนเทศแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1.สารสนเทศจำแนกตามแหล่งสารสนเทศ เป็นการจำแนกสารสนเทศตามการรวบรวมหรือจัดกระทำกับสารสนเทศ จำแนกได้ดังนี้
      1) แหล่งปฐมภูมิ (Primary Source) สารสนเทศที่ได้มาจากต้นแหล่งโดยตรง เป็นสารสนเทศทางวิชาการ ผลของการศึกษาค้นคว้า วิจัย รายงาน การค้นพบทฤษฎีใหม่ ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ซึ่งนำไปสู่การยอมรับเป็นทฤษฎีใหม่ที่เชื่อถือได้ สารสนเทศประเภทนี้มักจะถูกถ่ายทอดออกมาในลักษณะของสิ่งพิมพ์ เช่น วารสาร รายงานการวิจัย รายงานการประชุมมและสัมมนาวิชาการ สิทธิบัตร เอกสารมาตรฐานต่าง ๆ 
       2) แหล่งทุติยภูมิ (Secondary Source) สารสนเทศที่มีการรวบรวม เรียบเรียงขึ้นใหม่จากแหล่งสารสนเทศปฐมภูมิ มักจะอยู่ในรูปแบบการสรุป ย่อเรื่อง จัดหมวดหมู่ ทำดรรชนีและสาระสังเขป เพื่อประโยชน์ในการเข้าถึงและสามารถใช้ข้อมูลได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ได้แก่ สื่ออ้างอิงประเภทต่าง ๆ วารสารที่มีการสรุปย่อและตีความ รวมถึงหนังสือ ตำรา ที่รวบรวมเนื้อหาวิชาการในการเรียนการสอน สารานุกรม พจนานุกรม รายงานสถิติต่าง ๆ ดรรชนีและสาระสังเขป
       3) แหล่งตติยภูมิ (Tertiary Source)   สารสนเทศทีจัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการค้นหาสารสนเทศจากแหล่งปฐมภูมและทุติยภูมิ จะไม่ได้ให้เนื้อหาสาระโดยตรง แต่จะมีประโยชน์ในการค้นหาสารสนเทศที่ให้ความรู้เฉพาะสาขาวิชา ได้แก่ บรรณานุกรม นามานุกรม       

 2. สารสนเทศจำแนกตามสื่อที่จัดเก็บ เป็นการจำแนกสารสนเทศตามชนิดของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ได้แก่ กระดาษ วัสดุย่อส่วน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อแสง

6.ข้อเท็จจริงของสิ่งต่างๆที่อาจเป็นตัวเลขข้อความรูปภาพเสียงคือ...
ตอบ  ข้อมูล

7.ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลเป็น...
ตอบ  สารสนเทศ

8.ส่วนสูงของเพื่อนที่ถามจากเพื่อนแต่ละคนเป็น ...
ตอบ  ข้อมูล

9.ผลของการลงทะเบียนเป็น ...
ตอบ  สารสนเทศ

10.กราฟแสดงจำนวนนิสิตในห้องเรียนวิชาวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวันSectionวันอังคารเป็น...
ตอบ  ข้อมูล

บทที่ 2 บทบาทสารสนเทศกับสังคม


แบบฝึกหัด


บทที่ 2  บทบาทสารสนเทศกับสังคม                                                กลุ่มเรียน 2
รายวิชา  การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                   รหัสวิชา  0026008
ชื่อนางสาวนันทิชา  พระสว่าง                                                           รหัส 57011010086 (TM)

คำชี้แจง  จงตอบคำถามต่อไปนี้

1. ให้นิสิตหารายชื่อเว็บไซต์หรือเทคโนโลยีที่ให้บริการต่าง ๆ ตามหัวข้อเหล่านี้มาอย่างละ 3 รายการ
1.1  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการศึกษา
ตอบ    http://www.msu.ac.th/
            http://teachforthailand.org/TH/fellowship.php
            http://www.dek-d.com/
1.2  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพธุรกิจ พาณิชย์ และสำนักงาน
ตอบ    http://www.buncheeaudit.com/contactus.html สำนักงานบัญชี ฯ
           http://www.sathitson.com/archives/category/news-activities/dbd-news รับจดทะเบียนบริษัท
           http://www.pattanakit.net/ บัญชี,สำนักงานบัญชี,ภาษี
1.3  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพการสื่อสารมวลชน
ตอบ    www.thairath.co.th/ ค้นหาข่าว.
           www.9accounting.com/newspaper.html หนังสือพิมพ์, ข่าว
           www.komchadluek.net/ หนังสือพิมพ์คมชัดลึก   
1.4  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทางอุตสาหกรรม
ตอบ     www.diw.go.th/ กรมโรงงานอุตสาหกรรม
            www.dip.go.th/ เกี่ยวกับธุรกิจ SME
            www.bangkokgis.com/ แหล่งอุตสาหกรรม
1.5 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทางการแพทย์
ตอบ     dir.sanook.com/health_and_medical/ เว็บไซต์ด้านการแพทย์
            thisismedical.com/ หาโรงพยาบาล
            www.med.engr.tu.ac.th/ หลักสูตรวิศวกรรมทางการแพทย์
1.6 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทหารตำรวจ
ตอบ     www.thaipatch.com/ อาร์มทหาร - ตำรวจ
            www.navy.mi.th/sctr/navy_link.php หน่วยทหารสารวัตรภาคตะวันออก
            www.108link.com/link-police.html สารบาญ :ตำรวจ ทหาร
1.7  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพวิศวกรรม
ตอบ    www.eit.or.th/ ความรู้ทางวิศวกรรม
           www.วิศวกรรม.net/ วิศวกรรม, คณะวิศวกรรมศาสตร์
           www.eng.ku.ac.th/ นิสิตวิศวกรรมไฟฟ้า
1.8  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพด้านเกษตรกรรม
ตอบ    th.wikipedia.org/wiki/ เกษตรกรรม
           dnfe5.nfe.go.th/ilp/occupation/452.html เกษตรกรม การเลี้ยงปลาสวยงาม
           www.alro.go.th/ จัดที่ดินให้เกษตรกร
1.9 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับคนพิการต่าง ๆ
ตอบ    www.healthyability.com/ คนพิการไทย
           www.mahatai.org/ ข่าวคนพิการ,คนพิการ
           www.wiriya.net/bank.php มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ

2. มหาวิทยาลัยมหาสารคามเตรียมเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษาให้กับท่าน มีอะไรบ้าง บอกมาอย่างน้อย 3 อย่าง
ตอบ    1)  e-learning
            2) ระบบการลงทะเบียน
            3) ระบบแผนเป็น 3D

3. ข้อ 2 จงวิเคราะห์ว่าท่านจะเอาเทคโนโลยีเหล่านั้น มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองอย่างไรบ้าง
ตอบ    1)  ใช้ในการศึกษาวิทยานิพนธ์ที่สนใจในการศึกษาในระดับต่อไป
            2)  ระบบการลงทะเบียน เอาไว้ลงวิชาที่เราเลือกจะศึกษา
            3)  ใช้เป็นข้อมูลข่าวสารในการสมัครเรียนหรือทำงาน