วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

บทความที่ 1 ผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ


ผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ  

   

             
           ความรู้เกี่ยวกับศิลปะการนำผ้ามาย้อมด้วยสีที่ได้จากธรรมชาติ เป็นความรู้ภูมิปัญญาที่ถูกค้นพบ ปฏิบัติและถ่ายทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น  การทำผ้ามัดย้อมใช้เอง เป็นความภาคภูมิใจของคนทำและคนที่จะสวมใส่ เพราะผลงานชิ้นดังกล่าวเป็นศิลปะหนึ่งเดียวในโลกที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน การคิด ประดิษฐ์ลายผ้า ขึ้นอยู่กับจินตนาการและการสังเกตของแต่ละคน ซึ่งการมัดแต่ละครั้งหรือแต่ละคน  ลายผ้าที่ได้จะไม่เหมือนกัน แต่ก็สามารถปรับปรุง หรือออกแบบให้ใกล้เคียง หรือ คล้ายกันได้  ขึ้นอยู่กับการสังเกตและพัฒนาการของแต่ละคนด้วย ซึ่งการมัดลายแบบพื้นฐานอย่างง่ายมี ดังนี้
การพับแล้วมัด   การห่อแล้วมัด   การขยำแล้วมัด   พับแล้วหนีบ ที่สำคัญสีที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ผ้าย้อมคราม ย้อมฝางแดง เป็นต้น
        สีธรรมชาติได้จากต้นไม้ ได้แก่ ราก แก่น เปลือก ต้น ผล ดอก เมล็ด ใบ เป็นต้น ซึ่งต้นไม้แต่ละชนิดให้โทนสีต่างกัน ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของต้นไม้นั้นๆ  ซึ่งจะขอยกมาเป็นตัวอย่าง เป็นบางส่วน ดังนี้
- สีแดง    ได้จาก รากยอ แก่นฝาง  เปลือกสมอ ครั่ง
- สีคราม  ได้จาก ต้นคราม
- สีเหลือง ได้จาก  แก่นขนุน ต้นหม่อน ขมิ้น    ดอกดาวเรือง         
- สีตองอ่อน ได้จาก เปลือกผลทับทิม ต้นคราม ใบหูกวาง เปลือกและผลสมอพิเภก ใบส้มป่อยและผงขมิ้น ใบแค  ใบสับปะรดอ่อน
- สีดำ    ได้จาก ผลมะเกลือ ผลกระจาก ผลและเปลือกสมอ
- สีส้ม   ได้จาก เปลือกและรากยอ ดอกกรรณิการ์ (ส่วนที่เป็นหลอดสีส้ม) 
- สีเหลืองอมส้ม    ได้จาก ดอกคำฝอย
- สีม่วงอ่อน     ได้จาก ลูกหว้า
- สีชมพู    ได้จาก ต้นฝาง
- สีน้ำตาล   ได้จาก เปลือกไม้โกงกาง เปลือกผลมังคุด
- สีเขียว    ได้จาก เปลือกต้นมะริดไม้ ใบหูกวาง เปลือกสมอ
เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ดังนี้                                                                                                                           1. เตรียมวัตถุดิบให้สี เช่น ใบไม้ ดอกไม้  เปลือกไม้  กิ่ง ก้านใบ แก่นใบ ผลไม้ รากไม้ ที่ให้สีในโทนที่ต้องการมาจำนวนพอประมาณ ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับน้ำ หม้อที่ใช้ต้ม และจำนวนผ้าที่ต้องการย้อมด้วย นำวัตถุดิบดังกล่าวมาหั่นเล็กๆ ขนาดพอเหมาะกับภาชนะต้ม
2. เตาขนาดใหญ่ หรือก้อนเส้าเพื่อตั้งหม้อต้มน้ำ                                                                                                                            3. ผ้าตามขนาดที่ต้องการขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้
4. หนังยาง   เชือก ฟาง  หรือ เข็มกับด้วย เพื่อเอาไว้มัดลวดลาย
5. ปีบ  กะละมังหรือหม้อขนาดใหญ่เพื่อเอาไว้ต้มสีย้อมผ้าจาก ธรรมชาติ
6. ถุงผ้า หรือ ตาข่าย สำหรับห่อวัตถุดิบที่ให้สีเพื่อป้องกันไม่ให้เศษไม้ไปติดกับผ้าที่เราจะย้อม             7. ไม้ไผ่ผ่าซีกแบนเรียบ ก้อนหิน หรือวัตถุขนาดต่างๆ เพื่อเอาไว้ทำเป็นแม่แบบกดทับผ้าเพื่อให้เกิดลายตามจินตนาการ
8. เกลือ เอาใส่ในหม้อต้มน้ำเพื่อให้สีติดทนนานขึ้น
ขั้นตอนการทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ  มีดังนี้
1. ต้มน้ำให้เดือดในภาชนะที่ใหญ่พอประมาณ (ขึ้นอยู่กับจำนวนผ้า ที่จะย้อมด้วย) ใส่เกลือลงไปพร้อมกับน้ำเพื่อให้สีติดทนนานและสีสดขึ้น
2. นำวัตถุดิบให้สีที่เตรียมไว้แล้วใส่ในถุงผ้าหรือตาข่ายที่เตรียมไว้ แล้วนำเอาไปต้มกับน้ำที่เดือดเพื่อสกัดเอาสารที่มีอยู่ในนั้นออกมา                                                                                                              3. นำผ้าที่ผูกลายเสร็จลงไปในหม้อต้มสี ให้กลับด้านผ้าหรือกวน ให้ตลอดเพื่อให้สีผ้าดูดสีสม่ำเสมอกันทั้งผืน ให้สังเกตสีที่ซึมเข้าไปในเนื้อผ้าตามความพอใจหรือเหมาะสมแล้วจึงนำออกมาวางให้เย็นก่อน (ประมาณ 30 นาที ขึ้นอยู่กับอุณหถูมิของน้ำ)
4. ล้างขยี้เบาๆ ในน้ำตัวทำปฏิกิริยาเพื่อทำให้เกิดสีใหม่   เช่น   น้ำสนิม  น้ำสารส้ม   น้ำปูนใส   น้ำด่างขี้เถ้า  (ในขณะที่แช่ผ้าในตัวทำปฏิกิริยาแต่ละชนิดให้สังเกตถึงความต่างและการเปลี่ยนแปลงสีของแต่ละชนิดไว้ด้วยเพราะแต่ละตัวจะให้สีแตกต่างกัน) ถ้าพอใจแล้วให้แกะลายออกแล้วนำไปตากแดดให้แห้ง หรือถ้ายังไม่พอใจในสีที่ปรากฏให้นำไปล้างน้ำ สะอาดแล้วนำกลับไปย้อมกับตัวทำปฏิกิริยาชนิดอื่นๆ อีก   แต่ข้อควรระวัง คือในระหว่างที่นำผ้าเปลี่ยนตัวทำปฏิกิริยาให้ล้างน้ำเปล่าก่อน เพื่อไม่ให้ผสมกัน หรือถ้าไม่พอใจอีกอาจนำไปต้มกับน้ำเปลือกไม้อีกครั้ง  เพื่อย้อมใหม่ จนเป็นที่พอใจแล้วแก้ผ้าที่มัดไว้นำไปตากแดดให้แห้ง 
ข้อดีของสีธรรมชาติ
1. ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ผลิตและผู้บริโภค
2. น้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตไม่เป็นอันตรายต่อ สิ่งแวดล้อม
3. วัตถุดิบหาได้ง่ายในชุมชนไม่ต้องใช้สีเคมีที่นำเข้าจากต่างประเทศ
4. การย้อมสีธรรมชาติสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เป็นความรู้ที่เพิ่มพูนขึ้นตามประสบการณ์ สามารถ ถ่ายทอดให้แก่คนรุ่นหลัง เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่น
5. การย้อมสีธรรมชาติทำให้เห็นคุณค่าและรู้จักใช้ ประโยชน์ของทรัพยากรธรรมชาติ




อ้างอิงจาก
ข้อมูลจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://www.ist.cmu.ac.th/cotton/naturalColor_AdvRestrict.php?subnav=3
www.ist.cmu.ac.th  
การทำผ้ามัดย้อมด้วยสีธรรมชาติ จากบล็อก โอเคเนชั่น oknation.net


วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557

บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ  


แบบฝึกหัด

บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ                                                      กลุ่มเรียน 2
รายวิชา  การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                รหัสวิชา  0026008
ชื่อ-สกุล นางสาวนันทิชา  พระสว่าง                                              รหัส 57011010086 (TM)

คำชี้แจง  จงตอบคำถามต่อไปนี้

1.      ให้นิสิตยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามหัวข้อต่อไปนี้ อย่างน้อยหัวข้อละ 3 ชนิด แล้วแลกเปลี่ยนกันตรวจสอบกับเพื่อน
1)      การบันทึกและจัดเก็บข้อมูล   
ตอบ     USB flash drive, DVD ,  Memory stick       
2)      การแสดงผล
ตอบ    จอมอนิเตอร์ , เครื่องฉายโปรเจ็คเตอร์ , เครื่องพิมพ์
3)      การประมวลผล     
ตอบ    CPU , RAM , Software       
4)      การสื่อสารและเครือข่าย
ตอบ    อินเตอร์เน็ต , โทรทัศน์ , วิทยุ

2.       ให้นิสิตนำตัวเลขในช่องขวา มาเติมหน้าข้อความในช่องซ้ายที่มีความที่สัมพันธ์กัน
       1)  ส่วนใหญ่ใช้ทำหน้าที่คำนวณ ประมวลผล
       2)  e-Revenue
       3)  เทคโนโลยีต่างๆ ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการเกี่ยวกับสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้องแม่นยำ และความรวดเร็วต่อการนำไปใช้
       4)  มีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วนได้เเก่ Sender Medium และDecoder
       5)  การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรับ-ส่งเอกสารจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งโดยส่งผ่านเครือข่าย
       6)  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมและเทคโนโลยีอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
       7)  โปรแกรมที่ทำหน้าที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์
       8)  โปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ จัดเป็นซอฟต์เเวร์ประเภท
       9)  CAI
     10)  ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ   8   ซอฟต์แวร์ประยุกต์
           3   Information Technology
           1   คอมพิวเตอร์ในยุคประมวลผลข้อมูล
           6   เทคโนโลีสารสนเทศ ประกอบด้วย
          10  ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
           7   ซอฟต์แวร์ระบบ
           9   การนำเสนอบทเรียนในรูปมัลติมีเดียที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ตามระดับความ                          สามารถ
           5   EDI
           4   การสื่อสารโทรคมนาคม
           2   บริการชำระภาษีออนไลน์

บทที่ 3 การรู้สารสนเทศ


แบบฝึกหัด

บทที่ 3 การรู้สารสนเทศ                                                         กลุ่มเรียนที่ 2                                               รายวิชา  การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน         รหัสวิชา  0026008
ชื่อ นางสาวนันทิชา  พระสว่าง                                               รหัสนิสิต 57011010086 (TM)

คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

1. ข้อใดเป็นความหมายที่ถูกต้องที่สุดของการรู้สารสนเทศ
ก. ความสามารถในการกลั่นกลอง และประเมินค่าสารสนเทศที่หามาได้
ข. ความสามารถในการตัดสินใจใช้สารสนเทศรูปแบบต่างๆ
ค. ความสามารถของบุคคลในการสืบค้นและพัฒนาสารสนเทศ
ง. ความสามารถของบุคคลในการเข้าถึง ประเมิน และใช้งานสารสนเทศ

2. จากกระบวนการของการรู้สารสนเทศ ทั้ง 5 ประการ ประการไหนสำคัญที่สุด
ก. ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดจึงจะต้องการสารสนเทศ
ข. ความสามารถในการค้นหาสารสนเทศ
ค. ความสามารถในการประมวลผลสารสนเทศ
ง. ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

3. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของผู้รู้สารสนเทศ
ก. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
ข. สามารถใช้สารสนเทศในการดำเนินชีวิต
ค. ชอบใช้คอมพิวเตอร์ในการเล่นเกม
ง. ใช้คอมพิวเตอร์ในการแสวงหาสารสนเทศได้

4.ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ
ก.  โลกมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก โดยเน้นวัตถุนิยมมากขึ้น
ข.  ช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต
ค.  สารสนเทศมีการเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว จนยากที่จะเข้าถึง
ง.   ช่วยบุคคลเป็นผู้ที่มีศักยภาพในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

5. ข้อใดเป็นการเรียงลำดับขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้สารสนเทศที่ถูกต้อง
1. ความสามารถในการประมวลสารสนเทศ
2. ความสามารถในการประเมินสารสนเทศ
3. ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
4. ความสามารถในการค้นหาสารสนเทศ

5. ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดจึงจะต้องการสารสนเทศ
 ก. 1-2-3-4-5                 ข. 2-4-5-3-1              ค. 5-4-1-2-3              ง. 4-3-5-1-2

บทที่1 แนวคิดและแนวโน้มเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศยุคใหม่

แบบฝึกหัด


บทที่ 1 (กิจกรรม1)                                                                    กลุ่มที่เรียน 2
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน              รหัสวิชา 0026 008
ชื่อ  นางสาวนันทิชา พระสว่าง                                                  รหัส 57011010086 (TM)


จงเติมในช่องว่างว่าข้อใดเป็นข้อมูล หรือสารสนเทศ

1.ข้อมูลหมายถึง...
ตอบ ข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจ ข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลข ข้อความ หรือรายละเอียดซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง วีดิโอไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ  ข้อมูลเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง  และต้องถูกต้องแม่นยำ ครบถ้วน ขึ้นอยู่กับผู้ดำเนินการที่ให้ความสำคัญของความรวดเร็วของการเก็บข้อมูล ดังนั้นการเก็บข้อมูลจึงเป็นการเก็บรวบรวมเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจนั่นเอง ข้อมูลจึงหมายถึงตัวแทนของข้อเท็จจริง หรือความเป็นไปของสิ่งของที่เราสนใจ

2.ข้อมูลปฐมภูมิคือ... 
ตอบ  สารสนเทศที่ได้มาจากต้นแหล่งโดยตรง เป็นสารสนเทศทางวิชาการ ผลของการศึกษาค้นคว้า วิจัย รายงาน การค้นพบทฤษฎีใหม่ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ซึ่งนำไปสู่การยอมรับเป็นทฤษฎีใหม่ที่เชื่อถือได้ สารสนเทศประเภทนี้มักจะถูกถ่ายทอดออกมาในลักษณะสิ่งพิมพ์ และการถ่ายทอดสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ 

ยกตัวอย่างประกอบ การถ่ายทอดทางสิ่งพิมพ์วารสาร รายงานการวิจัย รายงานการประชุมและสัมมนา วิชาการ และการถ่ายทอดสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วารสารอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

3.ข้อมูลทุติยภูมิคือ...
ตอบ  เป็นแหล่งของข้อมูลที่ได้จากรายงาน หรือถ่ายทอดมาจากข้อมูลชั้นต้น หรือนำข้อมูลปฐมภูมิมาสังเคราะห์และเรียบเรียงขึ้นใหม่ เพื่อเสนอข้อคิดหรือแนวโน้มบางประการ ด้วยเหตุนี้ข้อมูลหรือหลักฐานนั้นจึงถูกรายงานโดยผู้ที่ไม่ได้มีส่วนร่วมหรือเป็นพยานในเหตุการณ์นั้น ผู้เขียนจะรายงานหรือถ่ายทอดในสิ่งที่ผู้อยู่ในเหตุการณ์พูด หรือเขียน หรือถ่ายทอดในลักษณะต่าง ๆ ไว้ หรืออาจจะถ่ายทอดมาหลายทอดก็ได้  การนำมาใช้ในการวิจัยจึงต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ นอกจากนั้น ข้อมูลที่ได้อาจไม่ทันสมัย ดังนั้นในการค้นหาข้อมูลทุติยภูมิจึงต้องเลือกค้นหาข้อมูลที่เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ส่วนข้อดีของข้อมูลทุติยภูมิคือ ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการค้นหาข้อมูล

ยกตัวอย่างประกอบ  หนังสือทั่วไป หนังสือตำรา หนังสือคู่มือการทำงาน รายงานความก้าวหน้าทางวิทยาการ บทคัดย่องานวิจัย บทวิจารณ์หนังสือ วารสารสาระสังเขป เป็นต้น

4.สารสนเทศหมาถึง...
ตอบ  ข้อมูลที่มีสาระอยู่ในตัว สามารถสื่อความหมายให้เกิดการเข้าใจกับผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลนั้น และสามารถที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้การที่จะได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการนั้นจะต้องนำข้อมูล (data) ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจมาทำการประมวลผลเสียก่อน โดยข้อมูลที่นำมาประมวลผลนั้นอาจจะมาจากแหล่งข้อมูลทั้งภายในหรือภายนอกองค์การ

5.จงอธิบายประเภทของสารสนเทศ...
ตอบ  สารสนเทศแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1.สารสนเทศจำแนกตามแหล่งสารสนเทศ เป็นการจำแนกสารสนเทศตามการรวบรวมหรือจัดกระทำกับสารสนเทศ จำแนกได้ดังนี้
      1) แหล่งปฐมภูมิ (Primary Source) สารสนเทศที่ได้มาจากต้นแหล่งโดยตรง เป็นสารสนเทศทางวิชาการ ผลของการศึกษาค้นคว้า วิจัย รายงาน การค้นพบทฤษฎีใหม่ ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ซึ่งนำไปสู่การยอมรับเป็นทฤษฎีใหม่ที่เชื่อถือได้ สารสนเทศประเภทนี้มักจะถูกถ่ายทอดออกมาในลักษณะของสิ่งพิมพ์ เช่น วารสาร รายงานการวิจัย รายงานการประชุมมและสัมมนาวิชาการ สิทธิบัตร เอกสารมาตรฐานต่าง ๆ 
       2) แหล่งทุติยภูมิ (Secondary Source) สารสนเทศที่มีการรวบรวม เรียบเรียงขึ้นใหม่จากแหล่งสารสนเทศปฐมภูมิ มักจะอยู่ในรูปแบบการสรุป ย่อเรื่อง จัดหมวดหมู่ ทำดรรชนีและสาระสังเขป เพื่อประโยชน์ในการเข้าถึงและสามารถใช้ข้อมูลได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ได้แก่ สื่ออ้างอิงประเภทต่าง ๆ วารสารที่มีการสรุปย่อและตีความ รวมถึงหนังสือ ตำรา ที่รวบรวมเนื้อหาวิชาการในการเรียนการสอน สารานุกรม พจนานุกรม รายงานสถิติต่าง ๆ ดรรชนีและสาระสังเขป
       3) แหล่งตติยภูมิ (Tertiary Source)   สารสนเทศทีจัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการค้นหาสารสนเทศจากแหล่งปฐมภูมและทุติยภูมิ จะไม่ได้ให้เนื้อหาสาระโดยตรง แต่จะมีประโยชน์ในการค้นหาสารสนเทศที่ให้ความรู้เฉพาะสาขาวิชา ได้แก่ บรรณานุกรม นามานุกรม       

 2. สารสนเทศจำแนกตามสื่อที่จัดเก็บ เป็นการจำแนกสารสนเทศตามชนิดของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ได้แก่ กระดาษ วัสดุย่อส่วน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อแสง

6.ข้อเท็จจริงของสิ่งต่างๆที่อาจเป็นตัวเลขข้อความรูปภาพเสียงคือ...
ตอบ  ข้อมูล

7.ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลเป็น...
ตอบ  สารสนเทศ

8.ส่วนสูงของเพื่อนที่ถามจากเพื่อนแต่ละคนเป็น ...
ตอบ  ข้อมูล

9.ผลของการลงทะเบียนเป็น ...
ตอบ  สารสนเทศ

10.กราฟแสดงจำนวนนิสิตในห้องเรียนวิชาวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวันSectionวันอังคารเป็น...
ตอบ  ข้อมูล

บทที่ 2 บทบาทสารสนเทศกับสังคม


แบบฝึกหัด


บทที่ 2  บทบาทสารสนเทศกับสังคม                                                กลุ่มเรียน 2
รายวิชา  การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                   รหัสวิชา  0026008
ชื่อนางสาวนันทิชา  พระสว่าง                                                           รหัส 57011010086 (TM)

คำชี้แจง  จงตอบคำถามต่อไปนี้

1. ให้นิสิตหารายชื่อเว็บไซต์หรือเทคโนโลยีที่ให้บริการต่าง ๆ ตามหัวข้อเหล่านี้มาอย่างละ 3 รายการ
1.1  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการศึกษา
ตอบ    http://www.msu.ac.th/
            http://teachforthailand.org/TH/fellowship.php
            http://www.dek-d.com/
1.2  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพธุรกิจ พาณิชย์ และสำนักงาน
ตอบ    http://www.buncheeaudit.com/contactus.html สำนักงานบัญชี ฯ
           http://www.sathitson.com/archives/category/news-activities/dbd-news รับจดทะเบียนบริษัท
           http://www.pattanakit.net/ บัญชี,สำนักงานบัญชี,ภาษี
1.3  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพการสื่อสารมวลชน
ตอบ    www.thairath.co.th/ ค้นหาข่าว.
           www.9accounting.com/newspaper.html หนังสือพิมพ์, ข่าว
           www.komchadluek.net/ หนังสือพิมพ์คมชัดลึก   
1.4  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทางอุตสาหกรรม
ตอบ     www.diw.go.th/ กรมโรงงานอุตสาหกรรม
            www.dip.go.th/ เกี่ยวกับธุรกิจ SME
            www.bangkokgis.com/ แหล่งอุตสาหกรรม
1.5 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทางการแพทย์
ตอบ     dir.sanook.com/health_and_medical/ เว็บไซต์ด้านการแพทย์
            thisismedical.com/ หาโรงพยาบาล
            www.med.engr.tu.ac.th/ หลักสูตรวิศวกรรมทางการแพทย์
1.6 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทหารตำรวจ
ตอบ     www.thaipatch.com/ อาร์มทหาร - ตำรวจ
            www.navy.mi.th/sctr/navy_link.php หน่วยทหารสารวัตรภาคตะวันออก
            www.108link.com/link-police.html สารบาญ :ตำรวจ ทหาร
1.7  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพวิศวกรรม
ตอบ    www.eit.or.th/ ความรู้ทางวิศวกรรม
           www.วิศวกรรม.net/ วิศวกรรม, คณะวิศวกรรมศาสตร์
           www.eng.ku.ac.th/ นิสิตวิศวกรรมไฟฟ้า
1.8  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพด้านเกษตรกรรม
ตอบ    th.wikipedia.org/wiki/ เกษตรกรรม
           dnfe5.nfe.go.th/ilp/occupation/452.html เกษตรกรม การเลี้ยงปลาสวยงาม
           www.alro.go.th/ จัดที่ดินให้เกษตรกร
1.9 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับคนพิการต่าง ๆ
ตอบ    www.healthyability.com/ คนพิการไทย
           www.mahatai.org/ ข่าวคนพิการ,คนพิการ
           www.wiriya.net/bank.php มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ

2. มหาวิทยาลัยมหาสารคามเตรียมเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษาให้กับท่าน มีอะไรบ้าง บอกมาอย่างน้อย 3 อย่าง
ตอบ    1)  e-learning
            2) ระบบการลงทะเบียน
            3) ระบบแผนเป็น 3D

3. ข้อ 2 จงวิเคราะห์ว่าท่านจะเอาเทคโนโลยีเหล่านั้น มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองอย่างไรบ้าง
ตอบ    1)  ใช้ในการศึกษาวิทยานิพนธ์ที่สนใจในการศึกษาในระดับต่อไป
            2)  ระบบการลงทะเบียน เอาไว้ลงวิชาที่เราเลือกจะศึกษา
            3)  ใช้เป็นข้อมูลข่าวสารในการสมัครเรียนหรือทำงาน